ท่าตูม เป็นชื่อตำบลหนึ่งของอำเภอแก่งคอย ตั้งขึ้นเป็นตำบลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 ตามท่าตูม เป็นชื่อตำบลหนึ่งของอำเภอแก่งคอย ตั้งขึ้นเป็นตำบลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ในรัชการที่ 5 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ) เดิมเป็นบ้านหนึ่งอยู่รวมกับตำบลสีทา รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ราชอนุชาในรัชกาลที่ 4 เสด็จขึ้นมาเลือกสถานที่สร้างเป็นพระราชวัง เป็นราชธานีสำรองไว้เพื่อป้องกันข้าศึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ระหว่าง พ.ศ. 2402-2408 มูลเหตุที่ได้นามว่าตำบลท่าตูม เนื่องมาจากบริเวณชายหาดริมแม่น้ำป่าสัก ใกล้กับบ้านหมู่ที่ 1 สมัยนั้นมีอ่าวกว้างเป็นหาดทรายยาวเหยียด มีทิวทัศน์งดงามสะอาดตามาก เป็นทิวธรรมชาติที่น่ารื่นรมย์ น่าเที่ยวชมมากทีเดียว ตรงนี้เอง สมัยเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เสด็จมา ทางการเมืองสระบุรีได้ทำการปลูกปะรำรับเสด็จขึ้นไว้ตรงบริเวณชายหาดแห่งนี้ และมีต้นไม้เพียงต้นเดียวที่อยู่บริเวณนี้ก็คือ ต้นมะตูมแลสมัยก่อนยังทิ้งร่องรอยของทาง หรือชาวบ้านเรียกว่าคลอง สำหรับเสด็จโดยช้างพระที่นั่งเพื่อผ่านไปยังเขาคอก ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อบ้านท่าตูม หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 4 (ตำบลท่าตูมปัจจุบัน) ชาวบ้านที่ตั้งรกรากสร้างบ้านสร้างเรือนกันอยู่อย่างหนาแน่น ก็เฉพาะบริเวณหมู่บ้านดังกล่าวนี้เท่านั้นเพราะมีแม่น้ำป่าสักได้ไหลผ่านด้วยเหตุนี้จึงเอานิมิตรหมายต้นมะตูม เป็นนามตำบลในเมื่อทางราชการอนุญาตให้ตั้งตำบลขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ประวัติความเป็นมาของตำบลบ้านธาตุ บ้านธาตุเป็นตำบลเก่าแก่ ตั้งมาสมัยรัชการที่ 5 ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 สมัยที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ พระราชอนุชา ในรัชกาลที่ 4 เสด็จมาหาสถานที่สร้างวัง ปัจจุบันชื่อของตำบลนี้ตั้งตามชื่อ ?ธาตุ? ที่ปรากฏมาแต่โบราณกาล คำว่าธาตุ คือ เจดีย์ เป็นคำชาวไทยอีสานเรียกกันมาแต่อดีต และต่อมาได้มีประกาศให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านธาตุยุบรวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 121 ตอนพิเศษ 111ง ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2547 แล้วจึงเรียกชื่อว่าองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านธาตุยุบรวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 121 ตอนพิเศษ 111ง ลงวันี่ 5 ตุลาคม 2547 แล้วจึงเรียกชื่อว่าองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม
1.2 ที่ตั้งและขนาดตำบลท่าตูม เป็นตำบลหนึ่งใน 12 ตำบลของ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ตั้งอยู่เลขที่ 115 หมู่ที่ 3 ตำบลท่าตูม อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี มีระยะทางจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 9 กิโลเมตร
1.3 เนื้อที่ ตำบลท่าตูม มีเนื้อที่ประมาณ 24.81 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 15,286 ไร่ 1.4 ภูมิประเทศ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ลุ่มสลับกับเทือกเขาซึ่งติดต่อเป็นอาณาบริเวณเดียวกับตำบลสองคอนและตำบลท่าคล้อ และมีแหล่งน้ำที่สำคัญคือแม่น้ำป่าสัก ไหลผ่านตำบลท่าตูม หมู่ที่ 1 ,หมู่ที่ 3 และพื้นตำบลบ้านธาตุทั้ง 5 หมู่ เป็นระยะความยาวประมาณ 7.5 กิโลเมตรคลองห้วยบุญ ผ่านตำบลท่าตูมหมู่ที่ 2 ,หมู่ที่ 4 และตำบลบ้านธาตุหมู่ที่ 1 ,หมู่ที่ 5 ทำให้สภาพโดยทั่วไปเหมาะสำหรับการทำเกษตรกรรม เช่น การทำนา การปลูกพืชไร่ การทำสวนผลไม้และการเลี้ยงสัตว์
1.5 จำนวนหมู่บ้าน มี 9 หมู่บ้าน อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เต็มหมู่บ้าน 9 หมู่บ้าน โดยแยกพื้นการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ดังนี้
1.6 ประชากรประชากรทั้งสิ้น 3,792 คน แยกเป็นชาย 1,869 คน หญิง 1,923 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 153 คน/ตารางกิโลเมตร (ข้อมูล ณ ตุลาคม พ.ศ. 2553 สำนักบริหารทะเบียนกรมการปกครอง)
2. สภาพเศรษฐกิจ2.1อาชีพ ส่วนใหญ่ประชาชนประกอบอาชีพเกษตร เช่น การทำนา การทำไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไร่มันสำปะหลัง ไร่ถั่ว การทำสวนผลไม้ เลี้ยงสัตว์ และบางส่วนรับจ้างทั่วไปและรับจ้างแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม
2.2หน่วยธุรกิจในเขต อบต.1. โรงสีข้าว 1 แห่ง2. โรงงานอุตสาหกรรม 2 แห่ง (โรงโม่หิน,โรงงานไม้อัดไทย)3. ฟาร์มไก่ 2 แห่ง4. ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 1 แห่ง5. โรงงานอุตสาหกรรมในครัวเรือน 1 แห่ง
3.สภาพสังคม3.1 การศึกษาตำบลท่าตูม มีโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 2 แห่งโรงเรียนอนุบาล 3 ขวบ (สังกัด อบต.) จำนวน 1 แห่งที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 3 แห่ง3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดและสำนักสงฆ์จำนวน 8 แห่ง ได้แก่1. วัดท่าสีโพธิ์เหนือ หมู่ที่ 3 จำนวนพระสงฆ์/สามเณร 6 รูป2. วัดท่าสีโพธิ์ใต้ หมู่ที่ 3 จำนวนพระสงฆ์/สามเณร 4 รูป3. วัดเขาขุย หมู่ที่ 4 จำนวนพระสงฆ์/สามเณร 5 รูป4. สำนักสงฆ์ถ้ำเทพนิมิต หมู่ที่ 2 จำนวนพระสงฆ์/สามเณร 3 รูป5. สำนักสงฆ์ถ้ำสันติสุข หมู่ที่ 2 จำนวนพระสงฆ์/สามเณร 4 รูป6. วัดบ้านธาตุใต้ หมู่ที่ 1 จำนวนพระสงฆ์/สามเณร 5 รูป7. วัดท่ากะเบา หมู่ที่ 2 จำนวนพระสงฆ์/สามเณร 5 รูป8. วัดบ้านธาตุเหนือ หมู่ที่ 3 จำนวนพระสงฆ์/สามเณร 2 รูป
3.3สาธารณสุขตำบลท่าตูม มีสถานีอนามัยประจำตำบล 2 แห่ง1. สถานีอนามัยท่าตูม ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 จำนวนเจ้าหน้าที่ 2 คน2. สถานีอนามัยบ้านธาตุ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 จำนวนเจ้าหน้าที่ 2 คน3. ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน 9 แห่ง4. อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
4. การบริการพื้นฐาน4.1 การคมนาคม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม มีเส้นทางคมนาคมถนนลาดยางส่วนท้องถิ่น (ถนนอดิเรกสาร) ผ่าน 1 สาย และมีถนนลูกรังเชื่อมต่อกับตำบลสองคอน 1 สาย มีถนนคสล. และถนนลูกรังเชื่อมโยงระหว่างหมู่บ้าน4.2 การโทรคมนาคม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม มีโทรศัพท์สาธารณะ ตำบลท่าตูม 2 แห่ง ,ตำบลบ้านธาตุ 4 แห่ง4.3 การไฟฟ้า องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม มีจำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน4.4 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น- บ่อน้ำตื้น 7 แห่ง - บ่อน้ำตื้นส่วนตัว 4 แห่ง- บ่อน้ำโยก 17 แห่ง - สระน้ำสาธารณะ 2 แห่ง- ฝ. 33 4 แห่ง - ฝ. 99 3 แห่ง- ประปาหมู่บ้าน 9 แห่ง - ถังเก็บน้ำฝน คสล. 3 แห่ง- หอถังเหล็ก (อบต.) 8 แห่ง - หอถังเหล็ก (ส่วนตัว) 1 แห่ง- ฝายกั้นน้ำ 12 แห่ง5. ข้อมูลอื่น ๆ1.1ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูมมีภูเขาหินปูน หินแกรนิตย์ ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง และหินอ่อน1.2มวลชนจัดตั้ง1. ลูกเสือชาวบ้าน จำนวน 1 รุ่น จำนวน 217 คน2. อปพร. จำนวน 1 รุ่น จำนวน 90 คน3. กลุ่มสภาวัฒนธรรมไทย จำนวน 20 คน4. กลุ่มกีฬา จำนวน 25 คน5. กลุ่มประชาคมตำบล จำนวน 9 กลุ่ม6. กลุ่มอาสาสาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน จำนวน 9 กลุ่ม7. อาสาพัฒนาชุมชน จำนวน 1 กลุ่ม จำนวน 22 คน8. สายตรวจประชาชนตำบลบ้านธาตุ,ท่าตูม จำนวน 1 หน่วย 9. กลุ่มอาชีพสตรี ตำบลบ้านธาตุ จำนวน 1 กลุ่ม จำนวน 15 คน10.กลุ่มผู้ผลิตน้ำดื่ม จำนวน 1 กลุ่ม จำนวน 45 คน11. กลุ่มอาชีพสตรีบ้านท่าตูม จำนวน 1 กลุ่ม จำนวน 15 คน12.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรท่าตูม จำนวน 1 กลุ่ม จำนวน 10 คน
6. ศักยภาพในตำบลก.ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล(1) บุคลากร จำนวน 26 คน- สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 5 คน- ส่วนการคลัง จำนวน 2 คน- ส่วนโยธา จำนวน 2 คน- ส่วนการศึกษาฯ จำนวน - คน- ลูกจ้างประจำ จำนวน 4 คน- ลูกจ้างชั่วคราว(พนักงานจ้างตามภารกิจ) จำนวน 6 คน- ลูกจ้างชั่วคราว(พนักงานจ้างทั่วไป) จำนวน 6 คน- พนักงานจ้างเหมา จำนวน 1 คน(2) ระดับการศึกษา- ประถมศึกษา จำนวน 8 คน- มัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา จำนวน 8 คน- ปริญญาตรี จำนวน 7 คน- สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 3 คน